วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เคมีอินทรีย์ ความรู้ที่ควรอ่าน

เคมีอินทรีย์ (Organic chemistry) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเคมีว่าด้วยการศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ องค์ประกอบ ปฏิกิริยาเคมีและการสังเคราะห์สารประกอบเคมีนั้นๆ โดยสารประกอบเหล่านี้จะต้องมีธาตุคาร์บอนอยู่ด้วย โดยทั่วไปนอกจากคาร์บอนแล้วสารประกอบเคมีอินทรีย์จะมีธาตุสำคัญๆ ดังนี้
ไฮโดรเจน
ไนโตรเจน
ออกซิเจน
ฟอสฟอรัส
กำมะถัน

[แก้] ประวัติ
เคมีอินทรีย์เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งของวิชาเคมีที่เริ่มต้นเมื่อเฟรดริช วูห์เลอร์ (Friedrich Woehler) สามารถสังเคราะห์สารประกอบยูเรียได้เป็นผลสำเร็จโดยบังเอิญจากการระเหยสารละลายแอมโมเนียมไซยาเนต (ammonium cyanate) NH4OCN เคมีอินทรีย์เข้าใจกันว่าเป็นสารเคมีที่ประกอบด้วยสายโซ่ของธาตุคาร์บอนและเกิดจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น แต่เมื่อเราสามารถสังเคราะห์สารประกอบประเภทนี้ได้ มันจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสังเคราะห์ประกอบประเภทเดียวกันนี้อีกมากมาย
[แก้] คุณสมบัติของสารอินทรีย์
สารประกอบเคมีอินทรีย์เป็นสารประกอบที่มีโมเลกุลเกิดจากการดึงดูดกันระหว่างอะตอมของธาตุต่างๆ ด้วยพันธะโคเวเลนต์ (covalent bond) เนื่องจากธาตุคาร์บอนมีอะตอมที่เชื่อมต่อกันเองและธาตุอื่นๆ ด้วยพันธะโคเวเลนต์แล้วมีความเสถียรสูงมากซึ่งจะเห็นได้การต่อกันเองของธาตุคาร์บอนเป็นโซ่ยาวๆ หรือต่อกันเป็นวงกลมก็ได้ ทำให้สารประกอบเคมีอินทรีย์มีความแตกต่างจากสารประกอบอนินทรีย์เคมีดังนี้
1. สารประกอบเคมีอินทรีย์จะหลอมเหลวหรือสะลายตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 300 °C
2. สารประกอบเคมีอินทรีย์ที่เป็นกลางจะละลายในน้ำได้น้อยกว่าสารประกอบอนินทรีย์เคมีประเภทเกลือยกเว้นสารประกอบเคมีอินทรีย์ประเภทไอออนิก และประเภทน้ำหนักโมเลกุลต่ำๆอย่างแอลกอฮอล์และกรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acids)
3. สารประกอบเคมีอินทรีย์ละลายได้ดีในตัวทำละลายที่เป็นสารอินทรีย์เช่นอีเทอร์ (ether) หรือแอลกอฮอล์แต่การละลายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฟังชั่นแนลกรุ๊ป (functional groups) และโครงสร้างทั่วไปของสารด้วย
[แก้] การตั้งชื่อและการการจัดหมวดหมู่
สารประกอบเคมีอินทรีย์ (organic compound) สามารถตั้งชื่อจัดหมวดหมู่ได้ดังนี้
[แก้] สารประกอบแอลิฟาติก (Aliphatic compounds)
เป็นสารประกอบที่มีอะตอมของคาร์บอนต่อกันเป็นโซ่ยาว (hydrocarbon chains) และไม่มีอะตอมของคาร์บอนต่อกันเป็นวงแหวน (aromatic systems) เลย ซึ่งได้แก่
1. ไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon)
2. แอลเคน (Alkane)
3. แอลคีน (Alkene)
4. ไดเอ็น หรือ อแลคาไดเอ็น (Dienes or Alkadienes)
5. แอลไคน์ (Alkyne)
6. แฮโลแอลเคน (Haloalkane)
[แก้] สารประกอบแอโรแมติก (Aromatic compounds)
เป็นสารประกอบที่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของโมเลกุลเป็นวงแหวน (aromatic systems) ซึ่งได้แก่
1. เบนซีน (Benzene)
2. โทลูอีน (Toluene)
3. สะไตรีน (Styrene)
4. ไซลีน (Xylene)
5. อะนิลีน (Aniline)
6. ฟีนอล (Phenol)
7. อะเซโตฟีโนน (Acetophenone)
8. เบนโซไนไตรล์ (Benzonitrile)
9. แฮโลอะรีน (Haloarene)
10. แนฟทาลีน (Naphthalene)
11. แอนทราซีน (Anthracene)
12. ฟีแนนทรีน (Phenanthrene)
13. เบนโซไพรีน (Benzopyrene)
14. โคโรนีน (Coronene)
15. อะซูลีน (Azulene)
16. ไบฟีนิล (Biphenyl)
[แก้] สารประกอบเฮเทอโรไซคลิก (Heterocyclic compounds)
เป็นสารประกอบที่มีวงแหวนที่ประกอบด้วยอะตอมต่างชนิด (heteroatom) กัน ซึ่งอะตอมเหล่านี้อาจเป็น ออกซิเจนไนโตรเจน ฟอสฟอรัส หรือกำมะถัน สารประกอบประเภทนี้ได้แก่
1. อิมิดาโซล (Imidazole)
2. อินโดล (Indole)
3. ไพริดีน (Pyridine)
4. ไพร์โรล (Pyrrole)
5. ไทโอฟีน (Thiophene)
6. ฟูแรน (Furan)
7. พูรีน (Purine)
[แก้] ฟังก์ชันนัลกรุป (Functional groups)
1. แอลกอฮอล์ (Alcohol)
2. แอลดีไฮด์ (Aldehyde)
3. สารประกอบอะลิไซคลิก (Alicyclic compound)
4. อะไมด์ (Amide)
5. อะมีน (Amine)
6. คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)
7. กรดคาร์บอกซิลิก (Carboxylic acid)
8. เอสเตอร์ (Ester)
9. อีเทอร์ (Ether)
10. คีโตน (Ketone)
11. ลิพิด (Lipid)
12. เมอร์แคปแทน (Mercaptan)
13. ไนไตรล์ (Nitrile)
[แก้] พอลิเมอร์ (Polymers)
พอลิเมอร์เป็นโมเลกุลชนิดพิเศษมีขนาดใหญ่ประกอบด้วยโมเลกุลย่อยๆ ต่อเรียงกัน ถ้าโมเลกุลย่อยเป็นชนิดเดียวกันจะเรียกพอลิเมอร์นี้ว่า"โฮโมพอลิเมอร์" (homopolymer) และถ้าโมเลกุลย่อยเป็นต่างชนิดกันจะเรียกพอลิเมอร์นี้ว่า"เฮตเทอโรพอลิเมอร์" (heteropolymer) พอลิเมอร์จำแนกได้ดังนี้
1. พอลิเมอร์ประเภทสารอินทรีย์ได้แก่
1. พอลิเอทไทลีน (polyethylene)
2. พอลิโพรไพลีน (polypropylene)
3. เฟลกซิกลาซส์ (Plexiglass) , ฯลฯ
2. พอลิเมอร์ประเภทสารอนินทรีย์ได้แก่
1. ซิลิโคน (silicone)
3. พอลิเมอร์ชีวภาพไบโอพอลิเมอร์ (biopolymers)
1. โปรตีน (proteins)
2. นิวคลิอิกแอซิก (nucleic acids)
3. พอลิแซกชาไรด์ (polysaccharides)
[แก้] การหาโครงสร้างโมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์
ปัจจุบันมีด้วยกันหลายวิธี ดังนี้:
ผลึกศาสตร์ (Crystallography) : วิธีนี้เป็นวิธีที่ละเอียดแม่นยำที่สุด แต่มันก็มีความยากมากที่จะเลี้ยงผลึกให้มีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีเพื่อที่จะได้รูปที่ชัดเจนเพื่อการวิเคราะห์
การวิเคราะห์ธาตุเคมี (Elemental Analysis) : เป็นวิธีการแยกสะลายโมเลกุลเพื่อให้ได้ธาตุเคมีสำหรับการวิเคราะห์
อินฟราเรด สเปกโทรสโกปี (Infrared spectroscopy) : เป็นวิธีที่ใช้วิเคราะห์ว่ามีหรือไม่มี ฟังก์ชันนัลกรุป
แมส สเปกโทรเมทรี (Mass spectrometry) : เป็นวิธีที่ใช้หา น้ำหนักโมเลกุล (molecular weight) ของสารประกอบอินทรีย์และโครงสร้างทางเคมีของสารดังกล่าว
นิวเคลียร์ แมกเนติก เรโซแนน สเปกโทรสโกปี (Nuclear magnetic resonance (NMR) spectroscopy)
ยูวีขวิสซิเบิล สเปกโทรสโกปี (UV/VIS spectroscopy) : เป็นวิธีที่ใช้หาระดับขั้นของการเชื่อมต่อกันในระบบ